วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดหล้านภาลัย
ว่าพลางทางชมคณานก        โผนผกจับไม้อึงมี่ 
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี        เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา 
นางนวลจับนางนวลนอน        เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา 
จากพรากจับจากจำนรรจา        เหมือนจากนางสการะวาตี 
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง        เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี 
นกแก้วจับแก้วพาที        เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา 
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร        เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา 
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา        เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง 
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง 
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง        คะนึงนางพลางรีบโยธี

นมัสการมาตาปิตุคุณ

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูล)
ข้าขอนพชนกคุณ        ชนนีเป็นเค้ามูล 
ผู้กอบนุกูลพูน        ผดุงจวบเจริญวัย 
ฟูมฟักทนุถนอม        บ บำราศนิราไกล 
แสนอยากเท่าไรๆ        บ คิดอยากรำบากกาย 
ตรากทนระคนทุกข์        ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย 
ปกป้องซึ่งอันตราย        จนได้รอดเป็นกายา 
เปรียบหนักชนกคุณ        ชนนีคือภูผา 
ใหญ่พื้นพสุนธรา        ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน 
เหลือที่จะแทนทด        จะสนองคุณานันต์ 
แท้บูชไนยอัน        อุดมเลิศประเสริฐคุณ

นมัสการอาจริยคุณ

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูล)
อนึ่งข้าคำนับน้อม        ต่อพระครูผู้การุญ 
โอบเอื้อและเจือจุน        อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์ 
ยัง บ่ ทราบก็ได้ทราบ        ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน 
ชี้แจงและแบ่งปัน        ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน 
จิตมากด้วยเมตตา        และกรุณาบ่เอียงเอน 
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์        ให้ฉลาดและแหลมคม 
ขจัดเขลาบรรเทาโม-        หะจิตมืดที่งุนงม 
กังขา ณ อารมณ์        ก็สว่างกระจ่างใจ 
คุณส่วนนี้ควรนับ        ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร 
ควรนึกและตรึกใน        จิตน้อมนิยมชม

มงคลสูตรคำฉันท์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(1) หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด 
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสพผล 
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชะนีย์ชน 
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี 

(2) ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุขี 
อีกบุญญะการที่ ณ อดีตะมาดล 
อีกหมั่นประพฤติควร ณ สะภาวะแห่งตน 
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี 

(3) ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที 
อีกศิลปะศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ 
อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ 
อีกคำเพราะบรรสาน ฤดิแห่งประชาชน 
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล 
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี 

(4) บำรุงบิดามา- ตุระด้วยหทัยปรีย์ 
หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน 
การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน 
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

นิราศนรินทร์

นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
อยุธยายศล่มแล้ว        ลอยสวรรค์ ลงฤๅ 
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-        เจิดหล้า 
บุญเพรงพระหากสรรค์        ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ 
บังอบายเบิกฟ้า        ฝึกฟื้นใจเมือง 
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น       พันแสง 
รินรสพระธรรมแสดง        ค่ำเช้า 
เจดีย์ระดะแซง        เสียดยอด 
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า        แก่นหล้าหลากสวรรค์ 
โฉมควรจักฝากฟ้า        ฤๅดิน ดีฤๅ 
เกรงเทพไท้ธรณินทร์        ลอบกล้ำ 
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน        บนเล่า นะแม่ 
ลมจะชายชักช้ำ ช       อกเนื้อเรียมสงวน 
จากมามาลิ่วล้ำ        ลำบาง 
บางยี่เรือราพลาง        พี่พร้อง 
เรือแผงช่วยพานาง        เมียงม่าน มานา 
บางบ่รับคำคล้อง        คล่าวน้ำตาคลอ 
เอียงอกเทออกอ้าง        อวดองค์ อรเอย 
เมรุชุบสมุทรดินลง        เลขแต้ม 
อากาศจักจานผจง        จารึก พอฤๅ 
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม        อยู่ร้อนฤๅเห็น

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

ความเป็นมา
  พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ
ประวัติผู้แต่ง
-                    สำนักวัดถนน – กัณฑ์ทานกัณฑ์
-                   สำนักวัดสังข์กระจาย – กัณฑ์ชูชก
-                   พระเทพโมลี (กิ่น) – กัณฑ์มหาพน
-                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) –กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง 13 กัณฑ์  ตามลำดับ  ดังนี้
       กัณฑ์ที่ ทศพรา  พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี  ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร  แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์  เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ 10 ประการ  ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง  ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร 10 ประการนั้นมีดังนี้
1.  ขอให้เกิดในกรุงมัททราช  แคว้นสีพี
2.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
3.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
4.  ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
5.  ขอให้พระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
6.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
7.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
8.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
9.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
10. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
          กัณฑ์ที่ หิมพานต์  พระนางผุสดีจุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษา  จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร  ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร"  ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉันททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงได้นำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค"  เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา  พระราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี  พระราชธิดาราชวงศ์มัททราช  มีพระโอรสชื่อ  ชาลี  พระธิดาชื่อกัณหา  พระองค์ได้สร้างโรงทาน  บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ  ต่อมาพระจ้ากาลิงคะแห่งนครกลิงคราษฎร์  ได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาคเพื่อให้ฝนตกในบ้านเมืองที่แห้งแล้งกันดาร  พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้แก่พระเจ้ากาลิงคะ  ชาวกรุงสัญชัยไม่พอใจที่พระราชทานช้างคู่บ้านคู่เมืองไป  จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
          กัณฑ์ที่ ทานกัณฑ์  พระเวสสันดรทรงมหาสัตตสดกทาน  คือ  การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี  ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร  จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตตสดกทาน คือ  การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่  อันได้แก่  ช้าง  ม้า  รถ  โคนม  นารี  ทาสี  ทาสา  รวมทั้งสุราบาน  อย่างละ 700
          กัณฑ์ที่ วนประเวศน์  เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินทางสู่เขาวงกต  เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับหน้าศาลาพระนคร  กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิบัติ  กษัตริย์เจตราชจึงมอบหมายให้พรานเจตบุตรผู้มีความเชี่ยวชาญชำนาญป่าเป็นผู้รักษาประตูป่าไม้  กษัตริย์ทั้ง พระองค์ปลอดภัย  และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์ กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤาษีพำนักในอาศรมสืบมา
          กัณฑ์ที่ ชูชก  ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพำนักในบ้านทุนวิฐะเที่ยวขอทานตามเมืองต่าง ๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ  จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมียแล้วออกเดินทางขอทานต่อไป  เมื่อเห็นว่าชูชกหายไปนานจึงได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว  เมื่อชูชกเดินทางมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูกชก  นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี  ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาของตน  หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา  ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อมาเป็นทาสรับใช้  เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรานเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
          กัณฑ์ที่ จุลพน  พรานเจตบุตรหลงกลชูชก  ที่ได้ชูกลักพริกขิงให้พรานดู  อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษี
          กัณฑ์ที่ มหาพน  เมื่อถึงอาศรมได้พบกับอจุตฤาษี  ชูกชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤาษีให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร  พร้อมพรรณนาหมู่สัตว์และพรรณไม้ตามเส้นทางให้ชูชกฟัง
          กัณฑ์ที่ กัณฑ์กุมาร  เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก  พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก  รุ่งเช้าเมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว  ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร  สองกุมารลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ  พระเวสสันดรจึงเสด็จติดตามหาสองกุมารแล้วมอบให้แก่ชูชก
          กัณฑ์ที่ กัณฑ์มัทรี  พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดนทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรสธิดาและพระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ พระนางมัทรีจึงออกเที่ยวหาโอรสธิดาและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพรทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง  เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ  พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสธิดาแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบกัน  พระนางมัทรีจึงได้ทรงอนุโมทนาในปิยบุตรทานนั้น
          กัณฑ์ที่ 10 สักรบรรพ  พระอินทร์เกรงว่าพระเวสสันดรจะประทานพระนางมัทรีให้แก่ผู้ที่มาขอ  จึงแปลเป็นพราหมณ์เพื่อมาทูลขอพระนางมัทรี  พระเวสสันดรจึงประทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ  เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  พระอินทร์ในร่างพราหมณ์จึงฝากพระนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  แล้วตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ประการ
          กัณฑ์ที่ 11 มหาราช  เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารจนเดินทางถึงกรุงสีพี  พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายนั้นนำมายังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน  ต่อมาชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาดจนไม่ย่อย  พระชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคราษฏร์ได้คืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
          กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์  พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง 4  เหล่า  ทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมจีนครสีพี  จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมกษัตริย์ให้หายเศร้าโศกและฟื้นพระองค์
          กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์  พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  และเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

มงคลสูตรคำฉันท์

ความเป็นมา

มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล ๓๘ อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
คำว่า “มงคล” หมายถึง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ “สูตร” หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
มงคลสูตร มีที่มาโดยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก ความว่า
ครั้งหนึ่งชาวชมพูทวีปได้มาประชุมและพูดคุยกันว่า “การเห็นเป็นมงคล การได้ยินได้ฟังเป็นมงคล หรือการสูดดมลิ้มเลียเป็นมงคล”
ครั้งนั้นมีชายคนหนึ่งนามว่า ทิฏฐิมังคลิกะ ถือว่า การเห็นเป็นมงคล และมีชายอีกคนหนึ่งนามว่า สุตมังคลิกะ ถือว่าการได้ฟังเป็นมงคล และยังมีชายอีกคนหนึ่งนามว่า มุตมังคลิกะ ถือว่าการสูดดมลิ้มเลียเป็นมงคล เมื่อชายทั้ง ๓ ถือมงคล ต่างกัน จึงกล่าวแก่งแย่งถกเถียงกันว่า อะไรคือมงคล
ฝ่ายคนที่ไม่เชื่อชายทั้งสามก็พากันคิดว่า อะไรจะเป็นมงคล ครั้งนั้นมนุษย์และเทพยดาทั้งหลายพากันคิดเรื่องมงคล เมื่อท้าวสุทธาวาสมหาพรหมรู้ว่า มนุษย์และเทพยดาพากันคิดเรื่องมงคล แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ จึงร้องประกาศว่า อีก ๑๒ ปีข้างหน้า พระพุทธเจ้าจะตรัสเทศนาเรื่องมงคล ให้คอยฟัง เมื่อร้องประกาศแล้วท้าวสุทธาวาสก็กลับไป
ครั้นล่วง ๑๒ ปีเทพยดาทั้งหลายก็พากันไปเฝ้าพระอินทร์ กราบทูลเรื่องมงคลที่มหาชนและเทพยดาถือกันต่างๆ พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้เทพยดาองค์หนึ่งทูลถามข้อมงคลแด่พระพุทธเจ้า
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี เทพยดาจึงทูลอาราธนาขอให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเรื่องมงคล
พระพุทธองค์จึงทรงเทศนาตรัสตอบปัญหาเรื่องมงคล ๓๘ ประการ เมื่อทรงเทศนาจบแล้วเหล่าเทวดาทั้งหลายก็ได้บรรลุธรรม ครั้นเมื่อราตรีนั้นผ่านพ้นไป พระพุทธองค์จึงได้ทรงเทศนาเรื่องมงคลนี้ประทานแก่พระอานนท์ซ้ำอีกคราวหนึ่ง แล้วทรงให้พระอานนท์นำไปเผยแผ่แก่ภิกษุทั้งหลาย
คำว่า “มงคล” ในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่เหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขและมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน “มงคลสูตร” เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ยึดถือและปฏิบัติ มีทั้งสิ้น ๓๘ ประการ ได้แก่

มงคล ๓๘ ประการ


๑. ไม่คบคนพาล                                                                
๒. คบบัญฑิต                                                                        
๓. บูชาบุคคลที่ควรบูชา                                    

๔. อยู่ในถิ่นอันสมควร                                                      
๕. เคยทำบุญมาก่อน                                                        
๖. ตั้งตนไว้ชอบ                                                       
๗. ความเป็นพหูสูต                                                            
๘. รอบรู้ในศิลปะ                                            
๙. มีวินัยที่ดี                                                         
๑๐. กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต                                            
๑๑. บำรุงบิดามารดา                                                            
๑๒. สงเคราะห์บุตร                                                       
๑๓. สงเคราะห์ภรรยา                                                     
๑๔. ทำงานไม่ให้คั่งค้าง                                                  
๑๕. ให้ทาน                                                                     
๑๖. ประพฤติธรรม                                                                
๑๗. สงเคราะห์ญาติ                                                          

๑๘. ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ 
๑๙. งดเว้นจากบาป   

๒๐. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒. มีความเคารพ
๒๓. มีความถ่อมตน
๒๔. มีความสันโดษ
๒๕. มีความกตัญญู
๒๖. ฟังธรรมตามกาล
๒๗. มีความอดทน
๒๘. เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๒๙. เห็นสมณะ
๓๐. สนทนาธรรมตามกา
๓๑. บำเพ็ญตบะ
๓๒. ประพฤติพรหมจรรย์
๓๓. เห็นอริยสัจ
๓๔. ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๓๕. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖. มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗. มีจิตปราศจากกิเลส
๓๘. มีจิตเกษม                                               

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
             ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา


เนื้อเรื่อง
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เปิบข้าวทุกคราวคำ              จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                 จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้น่ะมีรส                        ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                        และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง              ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว                      ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด            ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดปูนกี่เส้นเอ็น                              จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                 และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น                             ที่สูซดกำซาบฟัน
(จิตร ภูมิศักดิ์)


ต่อมาพระองค์ได้ทรงอ่านบทกวีของชาวจีบบทหนึ่ง มีใจความว่า

หว่านข้าวในฤดูใบไม่ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
เหงื่อหยดบนดินภายใต้จ้นข้าว
ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

                                                      (หลี่เชิน)

หัวใจชายหนุ่ม

.ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 .หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓มีนาคม พ.. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ..ไว้                                    
 ๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ พ่อประเสริฐเพื่อนรัก

๔.เนื้อเรื่่อง

                                       ตัวอย่าง   ฉบับที่ (๑๘)
                                                                                  บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา
                                                                          วันที่ ๑๓ เมษายน,..๒๔๖-
ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก.
          ฉันต้องรีบบอกข่าวดีมาให้ทราบ. แม่ไรได้ตกลงแต่งงานแล้วกับหลวงพิเศษผลพานิช,พ่อคามั่งมี, ซึ่งนำบทว่าเป็นโขคดีสำหรับหล่อน. เพราะอาจจะหวังได้ว่าจะได้มีความสุขต่อไปในชีวิต.จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป,แต่จะหวังไว้ว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง,คือ”ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน.”แต่ถึงจะใจไม่ช่วงเขาก็พอมีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่อุไรได้.
           การที่แม่อุไรได้ผัวใหม่เป็นตัวเป็นตนเสียแล้วเช่นนี้ ทำให้ฉันเองรู้สึกความตะขิดตะขวางห่วงใย.และรู้สึกว่าอาจจะคิดหาคู่ใหม่ได้โดยไม่ต้องมีข้อควรรังเกียจรังงอนเลย.พ่อประเสริฐเป็นเพื่อนรักกันที่สนิทสนมที่สุด,เพราะฉะนั้นฉันขอบอกตรงๆ ว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว,ซึ่งฉันหวังใจว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตต่อไปโดยยั่งยืนจริงจัง.หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน,แล้วเจ้าคุณพิสิฐกับพ่อของฉันก็ชอบกันมาก.ฉะนั้นพอพ่อประเสริฐกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็เตรียมตัวไว้เป็นเพื่อนบ่าวที่เดียวเถิด!
จากเพื่อนผู้กำลังปลื้มใจ.

หลวงบริบาลบรมศักดิ์

นิราศนรินทร์คําโคลง

ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
 ๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
 ๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ
         วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำประพันธ์หลายๆประเภท เช่น โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยร่ายหนึ่งบทและร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมาหากษัตริย์

นิราศนรินทน์คำโคลง
     นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
                                                                         อยุธยายศล่มแล้ว               ลอยสวรรค์ ลงฤา
                                                         
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                                                         
บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                                                         
บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                         
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น               พันแสง
                                                         
รินรสพระธรรมแสดง                ค่ำเช้า
                                                         
เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                                                         
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                         
เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์ อรเอย
                                                         
เมรุชุบสมุทรดินลง                 เลยแต้ม
                                                         
อากาศจักจารผจง                  จารึก พอฤา
                                                         
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม              อยู่ร้อนฤาเห็น
๒.ประวัติผู้แต่ง
             นิราศนรินทน์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ด้ยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม แต่เป็นที่หน้าเสียดายว่าความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่สู้ชัดเจนนักนอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
“โคลงนิราศเรื่องนี้                  นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน                     ว่าไว้”
    ๓.ลักษณะคำประพันธ์
            นิราศนรินทน์คำโคลง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท และโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๔๓ บท
           ๓.๑ ร่ายสุภาพ
                   ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้ แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพเสมอ
                   ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้
๔.เรื่องย่อ
    นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
๕.เนื้อเรื่อง
นิราศนรินทน์
                       ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง  แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ  ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า  แจกแสงจ้าเจิดจันทร์  เพียงรพิพรรณผ่องด้าว  ขุนหาญท้าวแหนบาท  สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน  ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า  ราญราบหน้าเกริน  เข็ญข่าวยินยอบตัว  ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อน  ผ่อนแผ่นดินให้ผาย  ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว  เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไท้เทิดฟ้า  เฟื่องฟุ้งทศธรรม  ท่านแฮ
                              อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-                      เจิดหล้า
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                                   ฯลฯ

                                เอียงอกเทออกอ้าง                      อวดองค์ อรเอย
                    เมรุชุบสมุทรดินลง                                 เลขแต้ม
                    อากาศจักจารผจง                                    จารึก พอฤา
                    โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                               อยู่ร้อนฤาเห็น
                                                                   ฯลฯ
                                 ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง                         แรมนวล  นาฏฤา
                    เสนาะสนั่นดินครวญ                             ครุ่นฟ้า
                    สารสั่งพี่กำสรวล                                   แสนเสน่ห์  นุชเอย
                    ควรแม่ไว้ต่างหน้า                                  พี่พู้นภายหลัง

                                                                    ฯลฯ